เมนู

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม 30 ประการเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิต


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 30 ประการ พึง
ทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม 30 ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 30 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 30 ประการ พึง
ทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม 30 ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเป็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 30 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต.

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการเป็นพาลหรือเป็นบัณฑิต


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการ
พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม 40 ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์
ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการ พึง
ทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม 40 ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 40 ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น
บัณฑิต.
จบตติยวรรคที่ 3

(พึงทราบการนับจำนวนพระสูตรในวรรคที่ 4 ที่ 5 ด้วยอำนาจไปยาล)
[204] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการ อันบุคคลควร
เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คืออสุภสัญญา 1
มรณสัญญา 1 อาหาร ปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเก อนภิรตสัญญา 1
อนิจจสัญญา 1 อนิจเจ ทุกขสัญญา 1 ทุกเข อนัตตสัญญา 1 ปหาน-
สัญญา 1 วิราคสัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้
อันบุคคลควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[205] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการ อันบุคคลควร
เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คืออนิจจสัญญา 1
อนัตตสัญญา 1 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเก อนภิรตสัญญา 1
อัฏฐิกสัญญา 1 ปุฬุวกสัญญา 1 วินีลกสัญญา 1 วิปุพพกสัญญา 1 วิจ-
ฉิททกสัญญา 1 อุทธุมาตกสัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประ-
การนี้ อันบุคคลควรอบรม เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[206] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการ อันบุคคลควร
เจริญ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ 1
สัมมาสังกัปปะ 1 สัมมาวาจา 1 สัมมากัมมันตะ 1 สัมมาอาชีวะ 1
สัมมาวายามะ 1 สัมมาสติ 1 สัมมาสมาธิ 1 สัมมาญาณะ 1 สัมมาวิมุตติ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง
ซึ่งราคะ.
[207] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการ อันบุคคลควร
เจริญ เพื่อความกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ

เพื่อความสลัดออกไปซึ่งราคะ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ...
สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้แล อันบุคคลควร
เจริญเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อควานเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ
เพื่อสลัดออกไปซึ่งราคะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ
เพื่อความสลัดออกไปซึ่ง โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ
ปมาทะ ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ... สัมมาวิมุตติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ
เพื่อความสลัดออกไปซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ
ปมาทะ.
จบปัญจมปัณณาสก์
จบทสกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก


อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


นิสสายวรรคที่ 1


1. กิมัตถิยสูตร1


ว่าด้วยผลของศีลที่เป็นกุศล


[208] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มี
อะไรเป็นอานิสงส์.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์.

1. สูตรที่ 1 ถึง 5 อรรถกถาแก้รวม ๆ กันไว้ท้ายสูตรที่ 5.